แสงสีฟ้า อันตรายใกล้ตัว

blue light hazard

แสงสีฟ้า อันตรายใกล้ตัว

ทุกวันนี้เราใช้เวลาบนจออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งมือถือ แทบเลต และจอทีวี ซึ่งแน่นอนว่าหากเรามีการเพ่งสายตาบนจอดิจิทัลเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน ย่อมมีปัญหาทางด้านกล้ามเนื้อทางดวงตา เพราะว่าบนจออุปกรณ์ต่าง ๆ มีแสงสีฟ้า ที่ส่งผลต่อสุขภาพของดวงตาเราได้

ภัยอันตรายจากแสงสีฟ้า คือ ไม่ว่าจะเป็นแสงสีฟ้า จากโทรศัพท์ หรือจอจากอุปกรณ์ทัชสกีนและแสงสีฟ้าธรรมชาติ สามารถสร้างคลื่นพลังงานสูงต่อเซลล์ภายในเลนส์ตา โดยเฉพาะส่วนจอตา (Retina) ที่ทำหน้าที่เป็นรูรับแสงแล้วส่งภาพไปยังจุดภาพชัด (Macula) เสื่อมสภาพการส่งภาพไปยังส่วนประสาทตาได้ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การมองเห็นผู้ป่วย มองเห็นภาพเบลอ ตามัว มองเห็นไม่ชัด ไม่สามารถปรับรูม่านแสงชั่วขณะได้ ดวงตาอาจต้องใช้เวลาในการปรับแสงสักพักเพื่อให้รูรับแสงปรับตัวกับแสงตามสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม

ผลกระทบจากแสงสีฟ้า

  1. ภาวะตาล้า ได้แก่ อาการปวดตา, ตาแห้ง, ตาพร่า, น้ำตาไหล
  2. จอประสาทตาเสื่อม ถ้าเผชิญหน้ากับแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เซลล์ในดวงตาตาย เนื่องจากคลื่นแสงพลังงานสูงเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ในเซลล์ของจอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อย ๆ เสื่อมลงส่งผลให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย
  3. ผลกระทบต่อการนอนหลับ (Insomnia)การได้รับคลื่นพลังงานแสงสีฟ้ามากเกินไป มีผลต่อ นาฬิกาชีวิต (Circadian rhythm) ของระบบทำงานภายในร่างกายแต่ละบุคคลเปลี่ยนไป แสงสีฟ้าจากหน้าจอทำให้ต่อมไพเนียล(Pineal gland) ที่สร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) จากสมองน้อยลง สร้างผลกระทบให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ และหลับไม่สนิท

วิธีปกป้องดวงตาจากแสงสีฟ้า

  1. ใช้แว่นกรองแสงสีฟ้าเพื่อปกป้องดวงตา
  2. ปรับความสว่างหน้าจอให้พอดี ควรปรับระดับแสงจากหน้าจอเป็นสีแนวโทน Warm light ให้สอดคล้องกับแสงสว่างในห้องของผู้ใช้ให้พอดี หากทำงานเวลากลางคืน ควรเปิดโคมไฟแสงสีขาวคู่กับหน้าจอคอม
  3. พักสายตาโดยใช้หลักการ 20-20-20 พื่อพักดวงตาที่ได้รับรังสีแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ใช้สายตาจดจ้องมากเกินไป มีวิธีเริ่มต้นคือ การหลับตา หรือมองออกไปยังทิวทัศน์มุมอื่น ๆออกไปประมาณ 20 วินาที ในระยะอย่างน้อย 20 ฟุต ในทุก ๆ 20 นาทีในขณะทำกิจกรรม
  4. ใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา น้ำตาเทียม (Artificial tears) เป็นสารมีมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับน้ำตาธรรมชาติ ช่วยหล่อลื่นและเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ดวงตา บรรเทาอาการตาล้า ตาแห้ง จากการปะทะแสงสีฟ้าในจอคอม ให้หายอาการตาล้า บรรเทาความระคายเคืองในดวงตาให้ทุเลาลงได้
  5. ทาน วิตามินบำรุงตา ปัจจุบันมีวิตามินบำรุงดวงตาหลากหลายยี่ห้อให้เลือก โดยควรเน้นความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และจำนวนสารอาหารหรือวิตามินที่จำเป็นสำหรับการดูแลสุขภาพดวงตาของเรา ได้แก่
  • สารในตระกูลแคโรทีนอยด์ (Carotenoids) ซึ่งในธรรมชาติมีมากถึง 600 ชนิด แต่มีเพียง 2 ชนิด คือ ลูทีน (Lutein)  และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ที่พบในบริเวณเนื้อเยื่อตา และพบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา เป็นสาร Antioxidant ที่ช่วยเรื่องการบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจกและโรคจอตาเสื่อม ทั้งยังช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา
  • สารไลโคปีน (Lycopene)จากผิวมะเขือเทศ เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีบทบาทสำคัญในการบำรุงร่างกาย ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต้อกระจก ป้องกันเยื่อบุตาอักเสบ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา และช่วยบำรุงสายตา ทำให้มองเห็นในที่มืดได้ดี
  • สารเบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) ช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ป้องกันผิวจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดด ผิวพรรณสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย ดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของเซลล์เยื่อบุตาขาว กระจกตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดี
  • วิตามินเอ (Vitamin A Acetate) วิตามินสำหรับดวงตา มีประโยชน์ต่อสมรรถภาพในการมองเห็น ช่วยให้มองเห็นในที่ที่มีแสงสว่างน้อย และมองเห็นสีสันต่าง ๆ เป็นปกติ นอกจากนี้ยังควบคุมการผลิตและการทำงานของเซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุทั่วร่างกายให้เป็นปกติ
  • วิตามินอี (Vitamin E DL – Alpha – Tocopheryl Acetate) สารต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่ดี ป้องกันการทำลายเซลล์หรือลดความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงภาวะผนังหลอดเลือดแข็งตัว, โรคหัวใจ, ภาวะความดันโลหิตสูง, ภาวะปวดอักเสบข้อ, ความแก่ หรือภาวะมะเร็งตามมาได้ในระยะยาว
  • วิตามินบี (Vitamin B Complex) เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยในการผลิตกรดอะมิโน เสริมสร้างร่างกายที่สึกหรอ ช่วยรักษาสมดุลของระบบต่าง ๆ Vitamin B1 ช่วยลดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า Vitamin B2 ช่วยเร่งขบวนการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรตและไขมัน Vitamin B3 ทำให้ร่างกายสดชื่นได้อย่างรวดเร็ว Vitamin B5 ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น บำรุงผิวหนังและระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น Vitamin B6 จำเป็นในขบวนการสร้างฮอร์โมนและสารสื่อประสาทต่างๆ ในร่างกาย ลดอาการสมองเสื่อมและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย Vitamin B12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็กและระบบการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเร่งขบวนการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ ให้เกิดเป็นพลังงาน